Flipper Zero 101

Flipper Zero 101

| write by Ar3mus

·

16 min read

Table of contents

สวัสดีครับทุกคน สำหรับในบล็อคนี้ผมก็จะมาเขียน Research เกี่ยวกับ Flipper Zero 101 สำหรับผู้ที่เริ่มต้นเล่นอุปกรณ์ในเรื่องของ Red Team Assessment Hardware ครับ

src : My Red Team assessment hardware – David Sopas – Security Researcher

สำหรับเนื้อหาในบล็อคนี้จะเป็นการปูเนื้อหา ที่มาที่ไปของอุปกรณ์ Flipper Zero ว่าเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร รวมไปถึงเจาะลึกถึงระบบภายในอุปกรณ์คร่าวๆ ว่ามี ฟีเจอร์และอุปกรณ์อะไรบ้างที่ประกอบเข้าด้วยกันภายในเครื่อง Flipper Zero เครื่องนี้ครับว่าจะเป็นยังไง ลุยกันเลยครับ 🔥

🐬Introduction


ก่อนที่จะมาเป็นอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Flipper Zero เริ่มจากการที่ Pavel Zhovner ผู้ริเริ่มโปรเจคได้รับแรงบรรดาลใจจาก Pwnagotchi (◕‿‿◕)

Pwnagotchi - Deep Reinforcement Learning instrumenting bettercap for WiFi pwning.

🐬Pwnagotchi

  • ทำไปทำไม สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร 😑

จากที่ผมหาข้อมูลมาหลักๆก็คือ เพื่อเสริมสร้าง Reinforcement Learning ให้แฮกเกอร์ที่สนใจ รวมไปถึงเรื่องของ WiFi networking และอีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เขาอยากให้แฮกเกอร์ลุกออกจากหน้าจอและคีย์บอร์ดแล้วออกไปเดินเล่นซะบ้าง 😹

💡Note

ว่าด้วยเรื่องของ Reinforcement Learning จริงๆคำนี้น่าสนใจนะครับ จากที่ค้นหามาความหมายของมันก็คือ เป็นวิธีการหนึ่งของการทำ Machine learning แต่ถ้าเปรียบเสมือนถึงการทำงานของมนุษย์แล้วนั่นก็คือ การที่มนุษย์เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างด้วยการลองผิดลองถูก และมีการเรียนรู้เกิดขึ้นระหว่างทางว่าการกระทำไหนดีหรือไม่ดี นั่นเองครับ

ภาพแสดงหลักการทำงานของ Reinforcement Learning
(แหล่งที่มาภาพจาก en.wikipedia.org/wiki/Reinforcement_learning)

  • ความหมายของคำว่า Pwnagotchi (ポーナゴッチ)

เป็นการผสมคำระหว่าง "pwn" และ "-gotchi" ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงของเล่นยอดนิยมในยุค 1990 ที่ชื่อว่า ทามาก็อตจิ (たまごっち) ทามาก็อตจิ มาจากคำว่า "ทามาโกะ" (たまご) ที่แปลว่า "ไข่" และ "อุจจิ" (ウオッチ) ที่แปลว่า "นาฬิกา" เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมสำหรับแฮกเกอร์รุ่นมิลเลนเนียลหลายๆ คน ในฐานะของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ที่มีบทบาทสำคัญในวัยเด็กของพวกเขา ยกตัวอย่างง่ายๆ สำหรับคนที่เกิดไม่ทันนะครับ 🥲 เช่น อนิเมะอย่าง Digimon ที่จะมีอุปกรณ์อย่าง Digivice เอาไว้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจำลองนั่นแหละครับ

🐬The Cyber-Dolphin

หลังจากนั้น Pavel Zhovner ได้ไอเดียจากตัวละคร คือโลมาไซบอร์ก "Jones" จากเรื่อง Johnny Mnemonic โดย William Gibson โดยเขาได้เขียนผ่าน Flipper blog โดยมีคอนเซ็ปว่า “cyber-dolphin (โลมาไซเบอร์) นี้อาศัยอยู่ใน Flipper และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้คุ้นเคยกับฟีเจอร์ต่างๆ และแสดงความคิดเห็นต่อการกระทำของผู้ใช้ มันจะพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับผู้ใช้และเก่งขึ้นเรื่อยๆ โดยเพิ่มระดับของมัน โลมาตัวนี้มีบุคลิกที่ซับซ้อน ซึ่งสะท้อนผ่านการกระทำ คำพูด และอารมณ์ทุกอย่าง”

💡Note

Jones the Dolphin

ArtStation - Jones the War Whale

Jones เป็นโลมาไซบอร์กซึ่งเคยถูกกองทัพเรือใช้ในสงคราม เขาปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้เซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่เพื่อเจาะเข้าไปในวงจรของกับระเบิดไซเบอร์ของศัตรูและกวาดล้างมัน เขาถูกทำให้ติดยาเพื่อควบคุมพฤติกรรม และร่างกายของเขาถูกดัดแปลงด้วยเกราะที่มีแผ่นโลหะอยู่ด้านข้าง ส่วนที่เปิดเผยของร่างกายแสดงให้เห็นร่องรอยโลหะสีเงิน รวมถึงความผิดปกติสองแห่งที่ออกแบบมาให้ติดตั้งเซ็นเซอร์ กองทัพเรือยังเชื่อมโยงเขากับจอแสดงผลแบบภาพและเสียง และเขาสื่อสารด้วยสัญลักษณ์และสี

src : Jones | William Gibson Wiki | Fandom

src : https://techsauce.co/tech-and-biz/flipper-zero-kickstarter

🐬Flipper Zero design

  • การออกแบบ Flipper Zero

Flipper Zero development process

ในเรื่องของการออกแบบ Flipper Zero ได้แรงบันดาลใจมาจาก โทรศัพท์มือถือเก่าอย่าง Siemens C55 ที่มีจอแสดงผลสีส้ม เหตุผลที่นำมาใช้ก็คือ เพราะให้ความรู้สึกอบอุ่นและชวนให้นึกถึงความทรงจำในอดีตครับ (old school boy จริงๆ)😸

💡 Note

หน้าตาโทรศัพท์มือถือ Siemens C55 ครับ

src : Siemens C55 โทรศัพท์มือถือ - สยามโฟน.คอม

  • คุณสมบัติและการพัฒนา

Flipper Zero ได้รับการออกแบบมาให้เหมือน "มีดพกสวิสในโลกอิเล็กทรอนิกส์" (Swiss-army knife) รวมฟังก์ชันที่จำเป็นทั้งหมดในอุปกรณ์เดียว เช่น เสาอากาศ 125 kHz ,ชิป CC1101 ,โมดูล NFC ในตัว ,การเชื่อมต่อ Bluetooth Low Energy (BLE) ,ตัวอ่านและเขียนคีย์ iButton ,เครื่องส่งสัญญาณอินฟราเรด และช่องเสียบ microSD ทั้งหมดนี้ถูกบรรจุในตัวเครื่องที่มีดีไซน์คล้ายของเล่น

  • ความเป็นเอกลักษณ์

Sketches of in-house modules for the Flipper Zero

สิ่งที่ทำให้ Flipper Zero แตกต่างคือ มาสคอต โลมาสไตล์ไซเบอร์พังค์ ที่ทำหน้าที่เหมือน Tamagotchi โดยมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามการใช้งานของผู้ใช้

src : Flipper Zero Behind The Scenes: How a group of enthusiasts designed the ‘perfect’ ethical hacking toy - Yanko Design

🐬Diving into Flipper Zero


🐬External Components

ก่อนอื่นเราดูส่วนประกอบภายนอกกันก่อนครับ

⚙️Body

  • สีและพื้นผิวที่ต่างกันในภาพใช้แสดงพื้นผิวที่ต่างกันครับ ซึ่งสีเขียวหมายถึงพื้นผิวขรุขระเล็กน้อยที่ให้สัมผัสนุ่มนวล สีน้ำตาลแดงหมายถึงพื้นผิวเรียบเงา ตามผู้ออกแบบกล่าวมานะครับ แต่ความเป็นจริงก็สัมผัสประมาณนั้นเลย

  • โลโก้ของ Flipper จะพิมพ์ด้วยการพิมพ์สกรีน

    • ความสูง (Height): 40.1 มม. (1.58 นิ้ว)

    • ความกว้าง (Width): 100.3 มม. (3.95 นิ้ว)

  • LCD Display Ultra-Low Power

    • หน้าจอ LCD ที่ใช้พลังงานต่ำมาก ช่วยให้ประหยัดแบตเตอรี่และเหมาะสำหรับการใช้งานต่อเนื่อง
  • 5-Button Directional Pad

    • แผงปุ่มนำทาง 5 ปุ่ม ใช้สำหรับการควบคุมและเลือกเมนู
  • Back Button

    • ปุ่มย้อนกลับ ใช้สำหรับออกจากเมนูหรือกลับไปยังหน้าก่อนหน้า
  • Status LED

    • ไฟ LED แสดงสถานะ ซึ่งอาจใช้แจ้งเตือนหรือแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์
  • MicroSD Card Slot

    • ช่องสำหรับใส่การ์ด MicroSD ใช้สำหรับเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรืออัปโหลดไฟล์

  • ความลึก (Depth): 25.6 มม. (1.01 นิ้ว)

  • น้ำหนัก (Weight): 102 กรัม (3.6 ออนซ์)

  • GPIO (General Purpose Input/Output) จะทำด้วยการยิงเลเซอร์ เนื่องจากตัวอักษรเล็ก การพิมพ์สกรีนจะให้ความคมชัดน้อยกว่า

  • เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจว่าด้านใดถูกต้องในการใส่การ์ด SD (มุมไหนอยู่) ทางผู้ออกแบบจึงตัดสินใจเพิ่มรูปสัญลักษณ์ที่มีประโยชน์ จะมีการทำเครื่องหมายด้วยเลเซอร์ด้วยครับ ไม่นั้นเดียวมีใส่ SD card กลับด้านมั้งแหละ 😹

⚙️ Screen Protector

  • "กระจก" นี้ช่วยป้องกันการสัมผัสตรงกับจอแสดงผล โดยพื้นผิวต้องเรียบเนียน

  • ประเภทหน้าจอ (Type): Monochrome LCD (หน้าจอขาวดำ)

  • ความละเอียด (Resolution): 128x64 พิกเซล

  • คอนโทรลเลอร์ (Controller): ST7567

  • อินเทอร์เฟซ (Interface): SPI (Serial Peripheral Interface)

  • ขนาดเส้นทแยงมุม (Diagonal Size): 1.4 นิ้ว

src : ST7567.pdf

💡 Note

สำหรับผมซื้อฟิล์มมาติดด้วยครับจะได้ป้องกันเกิดเวลาเราเผลอทำตกแล้วจอไถลขูดพื้นครับ

⚠️ ห้ามใช้แอลกอฮอล์เช็คนะครับเดียวกาวฟิล์มลอกหมด

⚙️Light Guide for a Status LED

  • ไฟ RGB LED ถูกวางไว้ลึกภายในตัวเครื่อง เป็นตัวช่วยนำแสงช่วยส่งแสงจาก LED ขึ้นมาที่พื้นผิวตัวเครื่องครับ

  • สถานะ RGB LED จะอยู่ลึกเข้าไปในตัวเครื่อง - บน PCB (Print Circuit Board) เพื่อให้มองเห็นแสงนี้บนพื้นผิว ท่อพลาสติกซึ่งเป็นตัวนำแสงจะถูกวางไว้ที่ด้านบนของ LED ซึ่งแสงจะส่องผ่านเข้าไป นอกจากนี้ยัง "ผสม" สีต่างๆ ของ RGB เพื่อให้ได้สีกลางที่สม่ำเสมอ เช่น สีขาวหรือสีเหลือง

⚙️IR Window

  • พอร์ตอินฟราเรดถูกปิดด้วยหน้าต่างสีแดงเข้มซึ่งมีวัสดุตัดแสงที่มองเห็นออกแต่มีความโปร่งใสต่อสเปกตรัม IR (Infrared) นอกจากฟังก์ชันการตกแต่งแล้ว ฟิลเตอร์นี้ยังช่วยปรับปรุงคุณภาพการรับสัญญาณ IR (Infrared) อีกด้วย สิ่งเหล่านั้นเหมือนกับบนรีโมททีวีทั่วไปที่เราใช้งานกันครับ

ตำแหน่งหน้าต่าง IR

⚙️Buttons

  • มีส่วนประกอบ 3 ชิ้น: วงกลมจอยสติ๊ก ปุ่มกลาง และปุ่มย้อนกลับ โดยมีสปริงช่วยให้กดได้อย่างยืดหยุ่น

⚙️Strap Reinforcement

ตัวยึดสายคล้องมีการเสริมความแข็งแรงในช่องคล้องสายเพื่อป้องกันการรับน้ำหนักโดยตรงที่มุมบางของตัวเครื่อง

⚙️Buttons and Screen Frame

  • ช่วยยึดหน้าจอและปุ่ม รวมถึงกระจายแรงบนตัวเครื่องและตัวป้องกันหน้าจอ

⚙️Carcass

  • ช่วยยึดแบตเตอรี่และบอร์ด PCB (Print Circuit Board) ของ RFID (Radio Frequency Identification)

  • ส่วนนี้ถูกแทรกเข้าไปในส่วนล่างของตัวเครื่องระหว่างแบตเตอรี่และ PCB RFID และทำหน้าที่สำหรับฟังก์ชันต่างๆ มากมาย: การวางตำแหน่งแบตเตอรี่ การยึด FFC ตลอดจนการยึด iButton+IR และ RFID PCB

💡 Note

PCB (Print Circuit Board)

RFID (Radio Frequency Identification)

FFC (Flat Flexible Cable)

IR (Infrared )

⚙️Bottom Cover

  • มีแผ่นสัมผัส iButton และรูสำหรับใส่สกรู พิกโตแกรมที่บังคับโดยมาตรฐานการรับรองถูกวางไว้ที่ใต้ฝาปิดนี้

💡 Note

พิกโตแกรม สัญลักษณ์แทนภาษาที่ซุกซ่อนอยู่ตามริมทาง

Smartphone_170265.pdf

src : https://www.yankodesign.com/2024/06/30/flipper-zero-behind-the-scenes-how-a-group-of-enthusiasts-designed-the-perfect-ethical-hacking-toy/

Pre-final tooling details. Getting ready for production launch

✨Live 3D model

Old Case vs New Case

ปัจจุบันถ้าเราสั่งซื้อ จะได้ Case ใหม่ทั้งหมดนะครับ ส่วน Case เก่าจะน่าประมาณปี 2020 ซึ่งก็ผ่านมานานแล้ว หลักๆ ที่สามารถสังเกตได้ชัดว่าแบบเก่าหรือแบบใหม่ให้ดูได้จาก

  • แถบ IR ครับ แบบเก่าจะอยู่ตรงกลางระหว่าง GPIO (General Purpose Input/Output) ส่วนแบบใหม่จะอยู่ที่มุมครับ

  • กับอีกอันนึงคือ Case ใหม่ จะเพิ่มขา GPIO อีก 2 ขาครับ

src : Catching up on September progress

💡 Note

สำหรับการป้องกันตัวเคสผมแนะนำให้หาซื้อซิลิโคนมาใส่นะครับ ช่วยป้องกันรอยขีดขวน รวมไปถึงเพิ่มความเท่ด้วยครับ 😎

🐬Internal Components

ที่นี้เรามาดูส่วนประกอบภายในกันดีกว่าครับ

ส่วนประกอบภายในทั้งหมดของ Flipper Zero

ส่วนประกอบของ PCB ทั้งหมด

โดยเนื้อหาต่อไปนี้ผมจะแบ่งหัวข้อตาม PCB นะครับ ซึ่งแต่ละ PCB จะมีการใส่อุปกรณ์แยกกันไปครับ

⚡Main PCB

แผงนี้จากที่เห็นจะมีอุปกรณ์จำพวก หน้าจอแสดงผล ปุ่มบังคับทิศทาง ปุ่มย้อนกลับ เสาอากาศที่รูปร่างเหมือนสปริง ที่เห็นได้ชัดครับ

⚙️Sub-1 GHz module

ที่นี้เรามาดูตำแหน่งของฟังก์ชั่น Sub-1 GHz กันครับว่าอุปกรณ์เขาติดตั้งไว้ที่ตำแหน่งไหน

Main PCB Top

  • โมดูล Sub-1 GHz
    Flipper Zero มาพร้อมกับโมดูล Sub-1 GHz ที่ใช้ CC1101 transceiver ซึ่งเป็นชิปสำหรับการสื่อสารวิทยุในย่านความถี่ต่ำกว่า 1 GHz โดยโมดูลนี้สามารถรองรับความถี่ในช่วง 300-348 MHz, 387-464 MHz, และ 779-928 MHz ซึ่งช่วยให้ Flipper Zero สามารถทำงานในหลายย่านความถี่ได้

  • เสาอากาศวิทยุ
    Flipper Zero ใช้เสาอากาศที่ออกแบบมาสำหรับการสื่อสารในย่าน Sub-GHz ซึ่งทำให้สามารถส่งและรับสัญญาณวิทยุในช่วงความถี่ที่กล่าวถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระยะการใช้งานสูงสุดของการเชื่อมต่อจะอยู่ที่ประมาณ 50 เมตร

  • การรองรับโมดูลวิทยุภายนอก
    แอปพลิเคชัน Sub-GHz ของ Flipper Zero รองรับโมดูลวิทยุภายนอกที่ใช้ CC1101 transceiver ทำให้ผู้ใช้สามารถขยายฟังก์ชันการทำงานของ Flipper Zero เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หรือระบบที่ใช้งานในย่านความถี่ Sub-GHz

รายละเอียดเกี่ยวกับ Sub-1 GHz ของ Flipper Zero

  • ทรานซีฟเวอร์ (Transceiver): CC1101

  • กำลังส่งสูงสุด (TX Power): -20 dBm

ย่านความถี่ (Frequency Bands)

(ขึ้นอยู่กับภูมิภาคของเรา)

  1. 315 MHz

  2. 433 MHz

  3. 868 MHz

  4. 915 MHz

💡 Note

ย่านความถี่ประเทศไทยมีช่วง Bands ประมาณนี้ครับ

การใช้งาน Sub-GHz

  • การควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้วิทยุ

    Flipper Zero สามารถใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้งานในย่านความถี่ Sub-GHz เช่น ระบบประตูอัตโนมัติ, อุปกรณ์ IoT, หรือรีโมทคอนโทรลต่างๆ

  • การเชื่อมต่อกับระบบที่รองรับ Sub-GHz

    สามารถใช้งานร่วมกับระบบที่ใช้วิทยุในย่านความถี่ Sub-GHz เช่น ระบบควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ RF, รีโมทคอนโทรล, หรือระบบเครือข่ายไร้สายที่ทำงานในย่านความถี่นี้

⚙️Microcontroller unit

ต่อมาเป็นตำแหน่งหน่วยประมวลผลครับ

Main PCB Back

รายละเอียดเกี่ยวกับ MC ของ Flipper Zero

  • ข้อมูลหน่วยประมวลผลหลัก

  • โมเดล (Model): STM32WB55RG

  • โปรเซสเซอร์แอปพลิเคชัน (Application Processor)

    • ARM Cortex-M4 (32 บิต)

    • ความเร็ว: 64 MHz

  • โปรเซสเซอร์วิทยุ (Radio Processor)

    • ARM Cortex-M0+ (32 บิต)

    • ความเร็ว: 32 MHz

  • การเชื่อมต่อไร้สาย (Radio)

    • Bluetooth LE (Low Energy): เวอร์ชัน 5.4

      • พลังส่ง (TX power): สูงสุด 4 dBm

      • ความไวรับ (RX sensitivity): -96 dBm

      • อัตราการถ่ายโอนข้อมูล: 2 Mbps

    • มาตรฐานการสื่อสาร: 802.15.4 และโปรโตคอลที่กำหนดเอง

  • หน่วยความจำ (Memory)

    • แฟลชเมมโมรี (Flash): 1024 KB (ใช้ร่วมกันระหว่างแอปพลิเคชันและการสื่อสารวิทยุ)

    • SRAM: 256 KB (ใช้ร่วมกันระหว่างแอปพลิเคชันและการสื่อสารวิทยุ)

💡 Note

SRAM (Static random-access memory) - Wikipedia

Flash memory - Wikipedia

IEEE 802.15.4 - Wikipedia

Zigbee Technology คือ? การสื่อสารที่ประหยัดพลังงานแต่ระยะไกล - IoT

ARM Cortex-M - Wikipedia

⚙️MicroSD card

ถัดไปเป็นหน่วยเก็บความจำครับ

Main PCB Back

รายละเอียดเกี่ยวกับ MicroSD Card ของ Flipper Zero

  • ความจุสูงสุด
    Flipper Zero รองรับ MicroSD card ที่มีความจุสูงสุดถึง 256 GB ซึ่งช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลหรือแฟ้มต่างๆ ได้มากขึ้น

  • ความจุที่แนะนำ
    ความจุที่แนะนำ สำหรับการใช้งานกับ Flipper Zero คือ 2-32 GB เนื่องจากสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงความจุนี้

  • ประเภทอินเตอร์เฟซ
    การเชื่อมต่อกับ MicroSD card ใช้ SPI interface ซึ่งช่วยให้การรับส่งข้อมูลระหว่าง Flipper Zero และ MicroSD card เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

  • ความเร็วในการอ่าน/เขียน
    Flipper Zero รองรับความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลที่ สูงสุดถึง 5 Mbps ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น การบันทึกข้อมูลหรือเก็บแฟ้มจากอุปกรณ์อื่นๆ

การใช้งาน MicroSD card ใน Flipper Zero

  • การเก็บข้อมูล: สามารถใช้ MicroSD card เพื่อเก็บข้อมูลหรือแฟ้มต่างๆ เช่น บันทึกการทดสอบ, ข้อมูลจากการใช้งาน, หรือแฟ้มการตั้งค่าต่างๆ ของ Flipper Zero รวมไปถึง Sub-GHz ถ้าไม่มี MicroSD card จะไม่สามารถใช้งานได้

  • การเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล: โดยการใช้ MicroSD card สามารถขยายพื้นที่เก็บข้อมูลใน Flipper Zero ได้ตามต้องการ

💡 Note

ในปัจจุบัน Flipper Zero จะบังคับให้เราใส่ MicroSD card และอัพเดรตเฟรมแวร์ ดังนั้นใครคิดจะซื้อเตรียม MicroSD card ไว้ด้วยนะครับของผมใช้ 64 GB

ได้พอใส่ไปจริงๆแล้วจะได้ประมาณ 59 GB น่าจะเพราะอัพเดตแฟรมแวร์ครับ

⚙️USB

Main PCB Back

รายละเอียดเกี่ยวกับ USB ของ Flipper Zero

  • ประเภทของการเชื่อมต่อ
    Flipper Zero ใช้ การเชื่อมต่อ USB Type-C ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นิยมในอุปกรณ์สมัยใหม่ เนื่องจากมีความสะดวกในการเชื่อมต่อทั้งสองด้าน

  • มาตรฐาน
    Flipper Zero รองรับ USB 2.0 ซึ่งเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ USB ที่สามารถให้ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้สูงถึง 12 Mbps

  • ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล
    ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล อยู่ที่ 12 Mbps ซึ่งเพียงพอสำหรับการถ่ายโอนข้อมูลระหว่าง Flipper Zero และคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ

  • กระแสการชาร์จสูงสุด
    กระแสไฟฟ้าสูงสุดสำหรับการชาร์จ คือ 1 A ซึ่งสามารถชาร์จ Flipper Zero ได้อย่างรวดเร็ว

การใช้งาน USB ใน Flipper Zero

  • การถ่ายโอนข้อมูล

    ใช้ USB Type-C เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ สำหรับการถ่ายโอนข้อมูล เช่น การอัปเดตเฟิร์มแวร์, การถ่ายโอนไฟล์, หรือการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ

  • การชาร์จ

    ใช้ USB Type-C ในการชาร์จแบตเตอรี่ของ Flipper Zero โดยสามารถชาร์จได้ด้วยกระแสไฟฟ้าสูงสุด 1 A

⚙️GPIO

Main PCB Back

  • Pinout ของ GPIO

    Flipper Zero มีขา 18 ขาที่ด้านบนของตัวเครื่อง ซึ่งประกอบไปด้วยขาจ่ายไฟและขา I/O ขาจ่ายไฟสามารถใช้จ่ายไฟให้กับโมดูลภายนอก ขา I/O รองรับแรงดันไฟฟ้า 3.3 V ทั้งสำหรับอินพุตและเอาต์พุต ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชันของขา Flipper Zero สามารถดูได้ในรูปภาพด้านล่าง

Flipper Zero’s pins

  • ขา +3.3 V (ขา 9)

    • เอาต์พุตเปิดใช้งานโดยค่าเริ่มต้น

    • โหลดสูงสุด: 1.2 A

    • การ์ด microSD ของ Flipper Zero จะใช้ไฟจาก +3.3 V และในระหว่างการอัปเดตเฟิร์มแวร์หรือการติดตั้งการ์ด microSD การจ่ายไฟให้ขา 9 จะถูกปิดชั่วคราว

⚠️คำเตือน
เชื่อมต่อโมดูลภายนอกที่มีโหลดความจุไฟฟ้าสูงเมื่อ Flipper Zero ปิดเครื่องเท่านั้น มิฉะนั้นข้อมูลบนการ์ด microSD อาจเสียหายได้

  • ขา +5 V (ขา 1)

    • ขา 1 สามารถจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ในตัวหรือสาย USB

    • เมื่อ Flipper Zero เชื่อมต่อกับสาย USB, ไฟจะถูกจ่ายจาก USB โดยตรง ไม่ควรเกินกระแสสูงสุด 1.2 A

⚠️คำเตือน
เมื่อ Flipper Zero เชื่อมต่อกับสาย USB ไฟที่จ่ายให้ขา 1 จะมาจาก USB โดยตรง ห้ามใช้กระแสเกิน 1.2 A

  • ขา I/O

    • การใช้พลังงานจากขา I/O ไม่ควรเกิน 5 W มิฉะนั้นแบตเตอรี่จะเข้าสู่โหมดป้องกัน และ Flipper Zero อาจปิดตัวลงได้

    • แต่ละขาสามารถจ่ายกระแสได้สูงสุด 20 mA

  • ความทนทานของ 3.3 V และ 5 V

    ขา I/O ของชิป CMOS ในรุ่น STM32WB55 MCU ของ Flipper Zero ถูกออกแบบมาให้ทำงานในช่วงแรงดัน 3.3 V ซึ่งเป็นช่วงที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การเปลี่ยนสถานะของขา I/O ในโหมด

    เมื่อ Flipper Zero อยู่ในโหมด DFU (Device Firmware Update) ขาของไมโครคอนโทรลเลอร์จะเปลี่ยนสถานะยกเว้นขา 17 โดยการเปลี่ยนแปลงสถานะนี้จะอธิบายไว้ในตาราง

Flipper Zero GPIO pinout

รายละเอียดเกี่ยวกับ GPIO ของ Flipper Zero

  • จำนวนพิน GPIO (General Purpose Input/Output):
    Flipper Zero มี 13 พิน I/O ที่พร้อมใช้งานสำหรับการเชื่อมต่อภายนอกผ่านคอนเนคเตอร์ 2.54 มม.

  • ระดับแรงดัน (Voltage Level)
    การทำงานที่ระดับ 3.3 V CMOS ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันต่ำ

  • การทนทานต่อแรงดัน (Voltage Tolerance)
    พินสามารถรับแรงดันที่สูงถึง 5 V โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหาย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน AN4899)

  • กระแสที่รองรับ
    พินดิจิทัลสามารถจ่ายกระแสได้สูงสุด 20 mA ต่อพิน ซึ่งสามารถใช้กับการขับโหลดขนาดเล็กได้

การใช้งานของ GPIO

  • เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก: สามารถใช้ GPIO เพื่อเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่างๆ หรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น มอเตอร์, ไฟ LED, เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ, และอื่นๆ

กรณีไม่สวมเคสซิลิโคน

⚠️ ถ้าใส่ถูกต้องจะไม่เห็น GPIO pins

กรณีสวมเคสซิลิโคน

⚠️ ถ้าใส่ถูกต้องจะไม่เห็น Gap ตรงกลาง

  • การขยายการทำงาน: การมีพิน GPIO เพิ่มเติมช่วยให้สามารถขยายการทำงานของ Flipper Zero เพื่อทำการทดลองหรือโครงการต่างๆ ได้ตามต้องการ

⚡NFC RFID PCB

NFC RFID PCB Top

NFC RFID PCB Back

⚙️NFC

  • ชิป NFC
    Flipper Zero ใช้ ST25R3916 NFC chip ซึ่งเป็นชิป NFC ที่รองรับการทำงานในคลื่นความถี่สูง (High Frequency) ที่ 13.56 MHz ชิปนี้ใช้สำหรับการอ่านและการจำลองการ์ดในโปรโตคอล NFC ที่หลากหลาย

  • เสาอากาศ NFC
    Flipper Zero มาพร้อมกับเสาอากาศ 13.56 MHz สำหรับการทำงานในคลื่นความถี่สูง ซึ่งรองรับโปรโตคอลต่างๆ ของ NFC และสามารถใช้ในการอ่านการ์ดหรือจำลองการ์ด NFC ได้

รายละเอียดเกี่ยวกับ NFC ของ Flipper Zero

  • ทรานซีฟเวอร์ (Transceiver): ST25R3916

    ชิปทรงพลังที่รองรับการสื่อสาร NFC ในหลายรูปแบบ

  • ความถี่ (Frequency): 13.56 MHz

    เป็นความถี่มาตรฐานสำหรับ NFC

การ์ดที่รองรับ (Supported Cards)

  1. ISO-14443A/B

    มาตรฐาน NFC ที่ใช้ในบัตรสมาร์ตการ์ดและระบบจ่ายเงินต่าง ๆ

  2. NXP MIFARE

    • MIFARE Classic®

    • MIFARE Ultralight®

    • MIFARE DESFire®

  3. FeliCa™

    ใช้ในระบบการจ่ายเงินและการขนส่งในประเทศญี่ปุ่น เช่น Suica และ Pasmo

  4. HID iClass (Picopass)

    การ์ดที่นิยมใช้ในระบบควบคุมการเข้า-ออกในองค์กร

  5. โปรโตคอล NFC Forum

    ครอบคลุมการใช้งาน NFC ทั่วไป เช่น การส่งข้อมูลระยะใกล้หรือการสื่อสารกับสมาร์ตโฟน

การใช้งาน NFC

  • การอ่านการ์ด NFC

    รองรับการอ่านการ์ดมาตรฐาน NFC ที่ความถี่ 13.56 MHz เช่น MIFARE Classic, DESFire, และอื่นๆ

  • การจำลองการ์ด NFC

    Flipper Zero สามารถจำลองการ์ด NFC ได้ ทำให้สามารถใช้งานในการจำลองบัตรต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี NFC

  • การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ

    รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ใช้ NFC เช่น สมาร์ทโฟน, ระบบชำระเงินที่รองรับ NFC และอื่นๆ

⚡Antenna PCB

⚙️RFID 125 kHz

  • รองรับ RFID 125 kHz
    Flipper Zero มีระบบ RFID 125 kHz ที่สามารถอ่านและจำลองการ์ด RFID ในคลื่นความถี่ต่ำ (Low Frequency) 125 kHz โดยใช้ STM32WB55 microcontroller unit เป็นหน่วยประมวลผลหลักสำหรับการทำงานของ RFID 125 kHz

  • เสาอากาศ 125 kHz
    เสาอากาศ 125 kHz ถูกติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังของ Flipper Zero ซึ่งทำงานร่วมกับการรับ-ส่งข้อมูลในความถี่ 125 kHz สำหรับการอ่านการ์ด RFID ที่รองรับความถี่นี้

  • การจัดวางเสาอากาศ
    เสาอากาศ 125 kHz ถูกจัดวางอยู่บน Dual Band RFID antenna ข้างๆ กับเสาอากาศ 13.56 MHz ซึ่งทำให้ Flipper Zero สามารถรองรับทั้งโปรโตคอล RFID ที่ความถี่ต่ำ (125 kHz) และความถี่สูง (13.56 MHz) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเกี่ยวกับ RFID 125 kHz ใน Flipper Zero

  • ความถี่ (Frequency): 125 KHz

  • การมอดูเลต (Modulation)

    • AM (Amplitude Modulation): การมอดูเลตแบบแอมพลิจูด

    • OOK (On-Off Keying): รูปแบบการส่งข้อมูลแบบเปิด-ปิด

  • การเข้ารหัส (Coding)

    • ASK (Amplitude Shift Keying): การเปลี่ยนแปลงความเข้มของคลื่น

    • PSK (Phase Shift Keying): การเปลี่ยนแปลงเฟสของคลื่น

การ์ดที่รองรับ (Supported Cards)

Flipper Zero รองรับการ์ด RFID 125 KHz หลายประเภท ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบรักษาความปลอดภัยและการควบคุมการเข้า-ออก เช่น

  1. EM-Micro EM4100

  2. HID H10301

  3. IDTECK Idteck

  4. Motorola Indala 26

  5. Kantech IoProx XSF

  6. AWID

  7. FECAVA FDX-A

  8. ISO FDX-B

  9. Generic HID Prox

  10. Generic HID Ext

  11. Farpointe Pyramid

  12. Viking

  13. Jablotron

  14. Paradox

  15. PAC Stanley

  16. Keri

  17. Gallagher

  18. Honeywell Nexwatch

  19. Electra

  20. Securakey

การใช้งาน 125 kHz RFID

  • การจำลองการ์ด RFID 125 kHz: Flipper Zero สามารถจำลองการ์ด RFID 125 kHz เพื่อใช้งานกับระบบที่ใช้เทคโนโลยีนี้

  • การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ RFID 125 kHz: รองรับการทำงานร่วมกับระบบควบคุมการเข้าถึงและระบบรักษาความปลอดภัยที่ใช้เทคโนโลยี RFID 125 kHz

⚡iButton PCB

💡 Note

ลำโพง Piezo และ IR ก็วางอยู่บน PCB นี้เช่นกันครับ

⚙️iButton 1-Wire

iButton 1-Wire เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ผ่านบัส 1-Wire ซึ่ง Flipper Zero รองรับโปรโตคอลต่างๆ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ เช่น การอ่านข้อมูลจากบัตร iButton หรือใช้งานกับระบบล็อคที่รองรับการสื่อสารแบบ 1-Wire.

Flipper Zero มาพร้อมกับโมดูล iButton ที่ประกอบด้วยแผ่น iButton และปีกนกแบบสปริง 3 ตัวที่ติดตั้งอยู่บน PCB ของ iButton

ขาของโมดูล iButton

  • ขาทั้งสองขา: ใช้สำหรับการถ่ายโอนข้อมูลและเชื่อมต่อกับ GPIO ขา 17

  • ขากลาง: เป็นขาที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับกราวด์

iButton PCB Top

iButton PCB Back

รายละเอียดเกี่ยวกับ iButton 1-Wire ใน Flipper Zero

ขาใช้สำหรับการอ่านและเขียน iButton

  • การเชื่อมต่อ iButton (Slave) กับ Flipper Zero (Master)

    ขาข้อมูลด้านซ้ายและขากลาง (กราวด์) ใช้สำหรับการอ่านและเขียน iButton keys

  • การเชื่อมต่อ Flipper Zero (Slave) กับเครื่องอ่าน iButton (Master)

    ขาข้อมูลด้านขวาและขากลาง (กราวด์) ใช้สำหรับการจำลอง iButton keys

  • โปรโตคอลที่รองรับ

    • Dallas DS199x, DS1971

    • CYFRAL

    • Metakom

    • TM2004

    • RW1990

⚙️Infrared

  • โมดูลอินฟราเรด (Infrared) ในตัว
    Flipper Zero มาพร้อมกับโมดูลอินฟราเรดที่ประกอบไปด้วย หน้าต่างพลาสติกโปร่งแสงสำหรับแสงอินฟราเรด, LED อินฟราเรดสามตัวสำหรับส่งสัญญาณ, และ ตัวรับสัญญาณอินฟราเรด ซึ่งทำให้ Flipper Zero สามารถใช้งานในฟังก์ชันที่ต้องการการส่งและรับสัญญาณอินฟราเรดได้

  • การส่งสัญญาณอินฟราเรด
    Flipper Zero ใช้ LED อินฟราเรด ในการส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ที่รองรับการรับสัญญาณอินฟราเรด เช่น รีโมทคอนโทรลต่างๆ หรืออุปกรณ์ที่ใช้การควบคุมด้วยอินฟราเรด

  • การรับสัญญาณอินฟราเรด
    โมดูลอินฟราเรดใน Flipper Zero มี ตัวรับอินฟราเรด ที่สามารถรับสัญญาณจากอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณอินฟราเรดมา เช่น รีโมททีวีหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

iButton PCB Top

iButton PCB Back

รายละเอียดเกี่ยวกับ Infrared ใน Flipper Zero

  • ความยาวคลื่น RX: 950 นาโนเมตร (±100 นาโนเมตร)

  • การพกพาคลื่น RX: 38 KHz (+/-5%)

  • ความยาวคลื่น TX: 940 นาโนเมตร

  • การพกพาคลื่น TX: 0-2 MHz

  • กำลังส่ง TX: 300 mW

โปรโตคอลที่รองรับ

  • NEC family

  • Kaseikyo

  • RCA

  • RC5, RC6

  • Samsung

  • SIRC

การใช้งานของ Infrared ใน Flipper Zero

  • การจำลองรีโมทคอนโทรล

    สามารถจำลองการส่งสัญญาณจากรีโมทคอนโทรลที่ใช้งานผ่านอินฟราเรดได้ เช่น การควบคุมทีวี, เครื่องเสียง, หรืออุปกรณ์ที่รองรับการควบคุมด้วยอินฟราเรด

  • การรับสัญญาณจากรีโมทคอนโทรล

    สามารถรับสัญญาณอินฟราเรดจากรีโมทคอนโทรลต่างๆ เพื่อจำลองหรือควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้น

⚙️Buzzer

iButton PCB Top

บัซเซอร์ของ Flipper Zero มีความถี่ที่สามารถปรับได้ระหว่าง 100 ถึง 2500 Hz และสามารถผลิตเสียงได้ถึง 87 dB ทำให้สามารถได้ยินเสียงแจ้งเตือนในหลากหลายสถานการณ์.

⚙️Vibration motor

มอเตอร์สั่นของ Flipper Zero มีกำลังการสั่นสูงถึง 30 N และหมุนด้วยความเร็วถึง 13,500 rpm

⚙️Battery

Flipper Zero ใช้แบตเตอรี่ LiPo ที่มีความจุสูงถึง 2100 mAh ซึ่งช่วยให้ใช้งานได้นานถึง 28 วัน โดยการทำงานได้ในอุณหภูมิที่หลากหลายตั้งแต่ 0° ถึง 40° C.

รายละเอียดเกี่ยวกับ Battery ใน Flipper Zero

  • ประเภทแบตเตอรี่: แบตเตอรี่ลิเธียมโพลีเมอร์ (LiPo)

  • ความจุแบตเตอรี่: 2100 mAh

  • อายุการใช้งานแบตเตอรี่: สูงสุดถึง 28 วัน

  • อุณหภูมิการทำงาน: 0° ถึง 40° C (32° ถึง 104° F)

🐬Flipper Zero First start


สำหรับผู้ที่เพิ่งซื้อเครื่องหรือได้เครื่องมาใหม่ๆ ผมแนะนำสิ่งที่ต้องเตรียมและควรทำเป็นลำดับแรกก่อนนั้นคือ ชาร์จ Flipper Zero ก่อนครับ

สิ่งที่เราจะได้ภายในกล่องจะมีดังนี้ครับ

  • Manual x1

  • Sticker x1

  • USB-Type C x1

  • Flipper Zero x1

สิ่งที่ต้องซื้อเพิ่ม

  • MicroSD card x1 **จำเป็นมาก** (ส่วนความจุขั้นตํ่า 4GB แต่ผมใช้ 64GB ครับ)

  • Flipper Zero Screen Protectors x1 (ถ้าซื้อ 1 เซ็ตเราจะได้ฟิล์มทั้งหมด 3 อัน)

  • Flipper Zero Silicone Case x1

🐬Start Procedure

1. Plug in USB to PC

ลำดับแรกนำ Flipper Zero ต่อ USB-Type C เชื่อมเข้ากับคอมพิวเตอร์ก่อนครับ เพื่อเช็คว่ามีแบตเตอรี่มั้ย

2. Power on

เปิดเครื่อง Flipper Zero โดยกดปุ่ม BACK ค้างไว้ 3 วินาที ครับ (โดยปกติถ้าต่อปลั๊กจะเปิดอัตโนมัติ)

src : First start - Flipper Zero - Documentation

💡 Note

ถ้า Flipper Zero เปิดไม่ติดให้ผมแนะนำดังนี้ครับ

  • ต่อ USB-Type C เชื่อมเข้ากับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะเปิดอัตโนมัติ

  • ถ้าต่อปลั๊กแล้วยังไม่ติด กดปุ่มไปทางซ้าย พร้อมกับ ปุ่ม BACK ค้างไว้ 5 วินาที เพื่อทำการ Rebooting

src : First start - Flipper Zero - Documentation

ถ้ายังยังเปิดไม่ติดอีก ลองทำ Firmware recovery

สามารถซ่อมแซมเฟิร์มแวร์ที่เสียหายได้ด้วย qFlipper และ USB Device Firmware Update (DFU) bootloader ที่มีอยู่ในตัว การใช้ USB DFU bootloader จะช่วยให้อัปเดต Flipper Zero ได้โดยไม่ต้องผ่านระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดระหว่างการอัปเดต

  1. รีบูตอุปกรณ์

    กดปุ่ม LEFT และ BACK ค้างไว้เป็นเวลา 5 วินาที

  2. ชาร์จอุปกรณ์

    ใช้สาย USB Type-C ที่ให้มา ชาร์จ Flipper Zero เป็นเวลาหลายนาที เพราะแบตเตอรี่อาจหมดจนเกลี้ยง

    ⚠️อุปกรณ์ไม่สามารถอัปเดต แสดงภาพ หรือไม่มีการตอบสนองเมื่อกดปุ่ม ⚠️

    การซ่อมแซมผ่าน USB DFU Bootloader

    1. เชื่อมต่อ Flipper Zero กับคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB

    2. เปิดโปรแกรม qFlipper บนคอมพิวเตอร์

    3. ทำตามคำแนะนำใน qFlipper เพื่อเข้าสู่ DFU Mode

    4. ดาวน์โหลดและติดตั้งเฟิร์มแวร์ใหม่ผ่าน qFlipper

💡 Note

การซ่อมแซมเฟิร์มแวร์จะลบข้อมูลทั้งหมดในหน่วยความจำภายใน

  • ข้อมูลที่จะถูกลบ
    ระดับของโลมา (dolphin’s level), การตั้งค่า และข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่จับคู่ไว้จะถูกลบทั้งหมด

  • ข้อมูลที่จะถูกเก็บรักษาไว้
    ข้อมูลที่อยู่ใน microSD card จะไม่ได้รับผลกระทบและจะยังคงอยู่

หาก Flipper Zero ยังคงไม่สามารถอัปเดตได้อย่างถูกต้อง แสดงผลภาพ หรือไม่ตอบสนองต่อการกดปุ่ม ให้ทำตามขั้นตอนด้านล่าง ครับ

เปลี่ยนไปยังโหมด Recovery

การเปลี่ยน Flipper Zero ไปที่โหมด Recovery จะเปิดใช้งาน USB DFU bootloader ในตัว เพื่อเริ่มการซ่อมแซมด้วย qFlipper ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับสถานะของอุปกรณ์

⚠️อุปกรณ์ทำงานได้ แต่ไม่สามารถอัปเดตได้⚠️

  1. ไปที่ Main Menu -> Settings -> Power

  2. เลือก Reboot -> Firmware Upgrade

  3. กดปุ่ม RIGHT เพื่อรีบูต

  4. เชื่อมต่อ Flipper Zero กับคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย USB คอมพิวเตอร์ควรตรวจจับ Flipper Zero เป็นอุปกรณ์ DFU

  5. ดำเนินการซ่อมแซมเฟิร์มแวร์ผ่าน qFlipper

⚠️อุปกรณ์ไม่ตอบสนองหรือไม่สามารถเข้าสู่เมนูได้⚠️

  1. กดปุ่ม LEFT และ BACK ค้างไว้เป็นเวลา 5 วินาที

  2. ปล่อยปุ่ม BACK แต่ยังคงกดปุ่ม LEFT จนกว่าไฟ LED สีน้ำเงินจะติดขึ้น

    %[youtu.be/2frgOokyxWU?si=quv7BykhpY9Dh_Wu]

  3. เชื่อมต่อ Flipper Zero กับคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย USB คอมพิวเตอร์ควรตรวจจับ Flipper Zero เป็นอุปกรณ์ DFU

  4. ดำเนินการซ่อมแซมเฟิร์มแวร์ผ่าน qFlipper

    ⚠️ตรวจสอบการเชื่อมต่อ⚠️

  • windows

    • ไปที่ Device Manager

    • ค้นหาอุปกรณ์ที่ชื่อ DFU in FS Mode

      • หากแสดงผลดังกล่าว แสดงว่า Flipper Zero เชื่อมต่อในโหมด DFU สำเร็จแล้ว

💡 Note

อุปกรณ์ Flipper Zero DFU ไม่มาพร้อมกับไดรเวอร์สำหรับ Windows
ไดรเวอร์จะถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติในระหว่างขั้นตอนการติดตั้งแอปพลิเคชัน qFlipper

  • macOS

    • ไปที่  -> About This Mac -> More Info -> System Report

    • ไปที่ Hardware -> USB

    • ค้นหาอุปกรณ์ที่ชื่อ DFU in FS Mode

      • หากแสดงผลดังกล่าว แสดงว่า Flipper Zero เชื่อมต่อในโหมด DFU สำเร็จแล้ว

💡 Note

รายการอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อใน macOS จะไม่รีเฟรชโดยอัตโนมัติเมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ใหม่ ให้กด Command + R เพื่อรีเฟรชรายการ

หรือใช้ Terminal:

  1. เปิด Terminal

  2. ใช้คำสั่ง system_profiler SPUSBDataType เพื่อแสดงข้อมูล USB

  3. ค้นหาอุปกรณ์ที่ชื่อ STMicroelectronics STM Device in DFU Mode

    • Linux
  4. Terminal

    • พิมพ์คำสั่ง lsusb

    • ค้นหาอุปกรณ์ STMicroelectronics STM Device in DFU Mode ในรายการที่แสดง

  5. GUI

    • ไปที่ USB Devices

    • ค้นหา DFU in FS Mode ในรายการอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ

⚠️อุปกรณ์ไม่ถูกตรวจพบเป็นอุปกรณ์ DFU⚠️

  • ลองใช้สาย USB อื่น

  • หากเป็นไปได้ เชื่อมต่อ Flipper Zero โดยตรงกับพอร์ต USB บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ หลีกเลี่ยงการใช้ตัวแปลง (adapter) หรือฮับ (hub)

  • ถอด microSD card ออกจาก Flipper Zero ชาร์จอุปกรณ์ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วลองเชื่อมต่อใหม่โดยไม่ใส่ microSD card

⚠️qFlipper ไม่สามารถซ่อมแซมเฟิร์มแวร์ได้⚠️

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า แอปพลิเคชัน qFlipper ถูกติดตั้งอย่างถูกต้อง บนคอมพิวเตอร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูที่การติดตั้ง qFlipper

  • รีบูตอุปกรณ์ของคุณ โดยการกดและค้างปุ่ม LEFT และ BACK ไว้ในขณะที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับสาย USB จากนั้นทำการซ่อมแซมเฟิร์มแวร์อีกครั้ง

  • หาก qFlipper ยังคงไม่สามารถซ่อมแซมเฟิร์มแวร์ได้ รีบูตอย่างหนัก โดยการกดและค้างปุ่ม BACK ไว้เป็นเวลา 30 วินาที โดยไม่มีการเชื่อมต่อกับสาย USB แล้วทำการซ่อมแซมอีกครั้ง

  • รัน qFlipper ในฐานะผู้ดูแลระบบ (Run as administrator)

  • หากเป็นไปได้ เชื่อมต่อ Flipper Zero โดยตรงกับพอร์ต USB บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ หลีกเลี่ยงการใช้ตัวแปลง (adapter) หรือฮับ (hub)

  • หากคุณพบปัญหาบนคอมพิวเตอร์ Windows ไปที่ Troubleshooting drivers on Windows

src : Firmware recovery - Flipper Zero - Documentation

3. Insert MicroSD card

ใส่ MicroSD card

  • ความจุรองรับสูงสุด 256 GB

  • ความจุขั้นตํ่า 4 GB

  • รองรับ FAT12, FAT16, FAT32, and exFAT

src : https://docs.flipper.net/basics/sd-card

⚠️ important

ใน document แนะนำ microSD cards ที่มีคุณภาพหน่อยนะครับ เช่น SanDisk, Kingston หรือยี่ห้ออื่นๆ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Flipper zero แต่ถ้าใช้ microSD cards ประสิทธิภาพตํ่า ยี่ห้อแปลกๆ ประสิทธิภาพก็จะลดลงไปตามนั้น รวมไปถึงอาจจะทำให้เครื่องเสียหายได้ครับ

✅ข้อดีของการใช้ microSD cards คุณภาพสูง

  • สามารถยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่

    เมื่อเปิดไฟพื้นหลังหน้าจอ Flipper Zero จะใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 30 mA หากใช้การ์ด microSD ที่เป็นแบรนด์แท้คุณภาพสูง แต่หากใช้การ์ด microSD ที่ไม่ได้คุณภาพ กระแสไฟฟ้าที่ใช้อาจเพิ่มขึ้นถึง 50 mA ซึ่งส่งผลให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์สั้นลง

    หากพบว่าแบตเตอรี่ของ Flipper Zero หมดเร็ว ให้ตรวจสอบการใช้กระแสไฟฟ้าได้ที่:
    Main Menu -> Settings -> Power -> Battery Info

⚠️ important

ในกรณีที่ Flipper Zero ของคุณไม่สามารถอ่านการ์ด microSD ได้

*ไม่ใช่ microSD ทุกการ์ดที่จะสามารถใช้งานได้ทันทีหลังจากเสียบเข้าช่อง*

หากเห็นข้อความบนหน้าจอแสดงปัญหาเกี่ยวกับ microSD card หลังจากเสียบเข้าไป อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ครับ

  • microSD card มีระบบไฟล์ที่ไม่ใช่ FAT12, FAT16, FAT32 หรือ exFAT
    -> ให้ฟอร์แมต microSD card

  • microSD card ไม่มีระบบไฟล์ใด ๆ
    -> ให้ฟอร์แมต microSD card

    • ให้ไปที่ Main Menu -> Settings -> Storage

    • เลือก Format SD Card และ กดปุ่มขวาเพื่อฟอร์แมต

      ⚠️หากการฟอร์แมตผ่าน Flipper Zero ล้มเหลว⚠️

    • ฟอร์แมต microSD card โดยใช้คอมพิวเตอร์ (PC)

    • ลองใช้ microSD card อันอื่นแทน

  • มีฝุ่นในช่องเสียบ microSD card
    -> ทำความสะอาดช่องเสียบอย่างระมัดระวังด้วยเครื่องเป่าลมแบบแรงดัน

  • microSD card ไม่มีอินเทอร์เฟซแบบ SPI
    -> ลองใช้ microSD card อันอื่น

  • microSD card เสียหาย
    -> ลองใช้ microSD card อันอื่น

⚠️ important

การถอดการ์ด microSD อย่างปลอดภัย

การถอด microSD card อย่างปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก Flipper Zero จะทำการอ่านและเขียนข้อมูลจาก microSD card อยู่ตลอดเวลา หากถอดการ์ดออกขณะที่ยังมีการใช้งาน อาจทำให้ข้อมูลในการ์ดเสียหายหรือระบบไฟล์ของการ์ดพังได้

ขั้นตอนการถอด microSD card อย่างปลอดภัย

  1. ไปที่ Main Menu -> Settings -> Storage

  2. เลือก Unmount SD Card และทำตามคำแนะนำที่แสดงบนหน้าจอ

    • การ Unmount จะหยุดการใช้งาน microSD card ของอุปกรณ์
  3. เมื่อได้รับการแจ้งเตือนว่าการ Unmount เสร็จสิ้นแล้ว ให้ถอด microSD card ออกจาก Flipper Zero โดยการกดเบา ๆ เพื่อปลดล็อก จากนั้นดึงการ์ดออกอย่างระมัดระวัง

4. Update Firmware

หลังจากที่ใส่ MicroSD card เรียบร้อยแล้วให้ทำการอัพเดตแฟรมแวร์ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใส่ MicroSD card ก่อนเนื่องจากในการอัพเดตจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลครับ

โดยวิธีอัพเดตแฟรมแวร์ มีอยู่ 2 วิธีครับ

4.1. อัพเดตผ่าน qFlipper

4.2. อัพเดตผ่าน Flipper Mobile App

ที่นี้เราก็พร้อมใช้งานแล้วครับ 🎉

READY SET GOOO!!!!! 🏍️💨

💀 Flipper Zero in Penetration Testing

src : Flipper Zero: what this Tamagotchi-like tool can do | Cybernews

ถ้าเราว่ากันด้วยเรื่องของ Red Team Assessment Hardware จริงๆ Flipper Zero ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำมาทดสอบเจาะระบบในเชิงกายภาพได้ดีเช่นกัน ทำไมผมถึงบอกว่าเป็นเชิงกายภาพเนื่องด้วย การออกแบบของ Flipper Zero นั่น เน้นให้เราใช้งานใกล้ๆ กับอุปกรณ์เป้าหมายที่เราต้องการทดสอบระบบนั้นเองครับ

สำหรับบทบาทของ Flipper Zero ในงาน ทดสอบเจาะระบบ (Penetration Testing) สามารถทำได้หลากหลายวิธี นอกจากจะสามารถประเมินหรือจัดการทราฟฟิกของเครือข่ายไร้สายจากระยะไกลได้ จำพวก Bluetooth , Sub-GHz , WiFi อุปกรณ์นี้ยังเหมาะกับการทำงานระยะใกล้ เช่น การรันสคริปต์ผ่าน USB, การขโมยข้อมูลจาก NFC และการโจมตีแบบ Brute Force กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตู้เซฟ, เครื่องอ่านบัตร, หรือแม้แต่ประตูโรงรถ ครับ

Using Flipper Zero for Security Assessment

FlipperZero มักต้องอยู่ในระยะใกล้กับ บัตรประจำตัว หรืออุปกรณ์ยืนยันตัวตนที่ใช้ NFC เพียงไม่กี่นิ้ว เพื่อให้กระบวนการระบุตัวตนและการโคลนสำเร็จ สำหรับอุปกรณ์รุ่นปัจจุบันอาจถูกป้องกันได้ง่ายด้วยบัตรที่มีปลอกป้องกันการสแกน RFID หรือบัตรที่อยู่ใต้เสื้อผ้าหลายชั้น หรือบัตรที่เก็บไว้ในกระเป๋าเงินหรือกระเป๋าถือ ซึ่งจริงๆ NFC จำพวกของบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือแม้กระทั้งบัตร Rabbit Card ที่ใช้ใน สถานีรถไฟฟ้า BTS ก็จะมีการเข้ารหัสเอาไว้ครับ

Integration of Flipper Zero in Workflow Processes

src : Flipper Zero: what this Tamagotchi-like tool can do | Cybernews

🔥Coming up Next !!!

สำหรับในครั้งหน้าผมจะปลดล็อคขีดจำกัดแฟรมแวร์เดิมๆ โดยเราจะติดตั้งแฟรมแวร์ชื่อว่า

Unleashed-Firmware กันครับ

และ Xtreme Firmware

ซึ่งเราจะอีโวลูชั่นจาก Flipper Zero เป็น Dark Flippers ครับ

Flipper Zero เราจะเจ๋ง หรือ เจ๊ง จะเป็นยังไงฝากติดตามด้วยนะครับ

ตอนนี้ผมกำลัง Research อยู่ ถ้าได้ไอเดียเจ๋งๆแล้วจะมาเขียนต่อนะครับ

ขอบคุณที่อ่านมาจนจบครับ :)

⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⢀⣀⣤⣤⣤⣤⣤⣤⣤⣤⣀⣀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀  ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
        ⢀⣤⣶⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣶⣤⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⠀⠀⠀⠀⣠⣾⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣷⣄⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⠀⠀⢠⣾⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠟⠛⠻⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣷⣄⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⠀⣰⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡇⠀⠀⠀⢸⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡿⠂⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⣸⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣦⣤⣴⣿⣿⣿⣿⣿⡿⠛⠁⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⢰⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠿⠛⠁⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⣾⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠿⠋   ⢀⣀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠟⠋⠁⠀⠀  ⣴⣿⣿⣿⣦⠀⠀⠀
⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣷⣦⣀⠀⠀⠀  ⢿⣿⣿⣿⡟ Ar3mus @ Flipper Zero 101
⢿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣷⣦⣄   ⠉⠉⠁⠀⠀⠀⠀
⠸⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣦⣄⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⢻⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣶⣄⡀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⠀⠻⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣷⡄⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⠀  ⠙⢿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡿⠋
⠀⠀⠀  ⠀⠛⢿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⡿⠋⠁
⠀⠀   ⠀⠀⠀⠀⠉⠻⢿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⣿⠿⠛⠉⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀  ⠀⠀⠉⠙⠛⠛⠻⠿⠿⠟⠛⠛⠋⠉⠀⠀⠀⠀⠀